Cute Bunny Holding Heart

วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประโยคเงื่อนไข (Conditional Sentence)

ประโยคเงื่อนไข (Conditional Sentence)

ประโยคเงื่อนไข (Conditional Sentence) เป็นลักษณะประโยคที่บอกการกระทำของกิริยาอีกลักษณะหนึ่ง ข้อความของประโยคซึ่งอยู่ในรูปแบบต่างๆ จะแสดงความหมายไม่เหมือนกัน ข้อความบางอันเป็นจริง แต่บางข้อความอาจไม่เป็นจริง เป็นแต่การสมมุติเท่านั้น ประโยคเงื่อนไขนั้นความจริงคือ Adverb clause ชนิดหนึ่งที่แสดงเงื่อนไข (Condition) ซึ่งมีตัว Relative เช่น "if, unless, provided (that), on condition that" แต่ส่วนใหญ่มักจะใช้ "if" บางตำรามักเรียกประโยคเงื่อนไขว่า "IF-Clause"
ชนิดของประโยคเงื่อนไข
ประโยคเงื่อนไข (Conditional Sentences) แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
  • เงื่อนไขที่เป็นจริง หรือเงื่อนไขที่เป็นไปได้ในอนาคต (Real Conditions or Open Conditions) มีรูปแบบโครงสร้าง ดังนี้
    ตัวอย่าง
    Subordinate Clause Main Clause
    If John works hard, he will pass his examination.
    If the rain stops I will go for a walk.
    Unless the rain stops I will not go for a walk.

    ตำแหน่งการวาง Clause ทั้งสองอาจสลับกันได้ คือ เอา Main Clause ขึ้น แล้วตามด้วย Subordinate Clause (แต่อย่างไรก็ดีถ้าขึ้นต้นประโยคด้วย Subordinate Clause หรือ If-clause ก่อน จะเป็นการเน้นยิ่งขึ้น) เช่น

  • ตัวอย่าง
    Main Clause Subordinate Clause
    I will help him if he asks me.
    I won’t help him unless he asks me.
    He will do the work, if he has the time.

    ประโยคเงื่อนไขแท้จริง (Real Conditions) นอกจากจะใช้โครงสร้างประโยคดังกล่าวข้างต้น ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ใช่มากที่สุดแล้ว ยังมีโครงสร้างอีกแบบหนึ่งซึ่งใช้มากเช่นกัน และค่อนข้างจะมีความหมายเน้น (Emphasis) กว่าโครงสร้างข้างบน คือ

    ตัวอย่าง
    Subordinate Clause Main Clause
    If you are right, I am wrong.
    If he comes, I tell you.
    If you boil water, it changes into steam.

    นอกจากโครงสร้างหลัก 2 แบบ ดังกล่าวแล้ว ประโยคเงื่อนไขแท้จริง อาจใช้ในแบบอื่นๆ อีก เช่น ตัวอย่าง

    • If + Present Simple, Future Prefect Tense เช่น If I get this right, I will have answered every question correctly.
    • IF + Present Simple, Past Simple Tense เช่น If what you say is right, then what I said was wrong.
    • If + Present Simple, Imperative Mood. เช่น If you meet Smith, tell him I want to see him. If the ground is very dry, don’t forget to water those plants.
    • If + should + Bare Infinitive, Imperative or Future in Question Forms เช่น
      • If you should meet Smith, tell him I want to see him.
      • If he should come, please give him this book.
      • If you should be passing, do come and see us.
      • he train should be late, what will you do?
    หมายเหตุ: โครงสร้างตามรูปแบบที่ 4 นี้จะมีความหมายเป็นไปได้ที่น้อยลงกว่าโครงสร้างปกติ (Remote Possibility)
    • If + Past Simple, Present Simple Tense เช่น If I said that, I apologize.
    • If + Past Simple, Past Simple Tense เช่น If I said that, I was mistaken.
    • If + Past Simple, Future Simple Tense เช่น If I made a mistake, I will try to remedy it.
    • If + Present Perfect, Future Simple Tense เช่น If I have made a mistake, I will try to remedy it.
    • If + Present Perfect, Present Simple Tense เช่น If you have done your work, you may go to the cinema.
    ข้อสังเกต
    • ใน IF Clause จะไม่ตามด้วย Future Tense เลย แม้ว่าความหมายจะเป็นอนาคตก็ตาม เช่น He will go for a walk if the rain will stop. (ผิด)
      He will go for a walk if the rain stops. (ถูก)

    • "will" จะใช้ใน IF-Clause แต่ไม่ได้แสดงความหมาย "อนาคตกาล" แต่แสดงถึง "ความเต็มใจหรือตั้งใจทำ" (Willingness) เช่น If you will sign this agreement, I will let you have the money at once.
      แต่ข้อความข้างบนจะสุภาพยิ่งขึ้นถ้าใช้ "would" เช่น If you would sign this agreement, I will let you have the money at once.
  • เงื่อนไขสมมุติ หรือเงื่อนไขที่ไม่สามารถเป็นจริงได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต (Unreal Conditions or Hypothetical Conditions, Supposition)
    ตัวอย่าง
    Subordinate Clause Main Clause
    If Smith were here, he would know the answer.
    If I had the money, I would buy a new car.
    If I were King, you should be Queen.

    ข้อสังเกต
    • ใน IF-Clause ที่แสดงเงื่อนไขไม่จริงในอนาคตนี้ จะใช้ "were" กับทุกๆ ประธาน
    • รูป Future Simple in the past นั้น ก็คือรูปที่มาจาก Future Simple นั่นเอง แต่เปลี่ยน "will" เป็น "would"
    • ความหมายของทุกตัวอย่างข้างต้น จะแสดงการสมมุติทั้งสิ้น เช่น "If Smith were here..." แสดงว่า "ผมรู้ว่าสมิธไม่มีโอกาสจะอยู่ที่นี่เลย" หรือ "If I had the money….." หมายความว่า "ผมรู้ว่าผมไม่มีทางจะมีเงินจำนวนนั้นได้เลย" ตัวอย่างประโยคสุดท้ายยิ่งเน้นชัดว่า ข้อความนั้นไม่มีทางเป็นไปได้อย่างยิ่ง คือ "If I were King..."
  • เงื่อนไขสมมุติหรือเงื่อนไขซึ่งตรงข้ามกับความเป็นจริงในอดีต (Unreal Condition in Past) มีรูปแบบดังนี้
    ตัวอย่าง
    Subordinate Clause Main Clause
    If John had worked hard, he would have passed the examination.
    If you had asked me, I would have helped you.
    If I had had the money, I would have bought a bigger house.
    ข้อสังเกต
    • รูป Future Perfect in the Past ก็คือ รูปที่มาจาก Future Perfect นั่นเอง แต่เปลี่ยน "will" เป็น "would"
    • เป็นเงื่อนไขที่กล่าวถึงสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วและได้กระทำลงไปตรงกันข้ามกับรูปประโยคเสมอ หรือเป็นเงื่อนไขที่ตรงกันข้ามกับความเป็นจริงนั่นเอง (Contrary to the Facts) เช่น "If John had worked hard…." (= ผู้พูดกล่าวพาดพิงถึงการเรียนที่แล้วมา และความเป็นจริงที่เกิดขึ้นแล้ว จอห์นไม่ได้ศึกษาอย่างขยันเลย เขาจึงสอบตก) หรือ "If you had asked me,…..")
      (= ผู้พูดกล่าวพาดพิงถึงเรื่องราวที่แล้วมา และความจริงที่เกิดขึ้นคือคุณไม่ได้ขอร้องผม ผมก็เลยไม่ได้ช่วยคุณ) หรือ "If the hat had suited me, I would have bought it."
      (= ผู้พูดกล่าวพาดพิงเรื่องที่แล้วมาเช่นกัน ซึ่งมีความหมายว่า "เมื่อวานตอนที่ผมไปดูหมวกใบหนึ่งในร้าน ถ้ามันเหมาะกับผมผมก็คงซื้อมันไปแล้ว" ซึ่งความจริงก็คือ ผมไม่ได้ซื้อหมวกใบนั้น เพราะมันไม่เหมาะกับผม"
ลักษณะการวาง IF-Clause ได้กล่าวมาข้างต้นบ้างแล้วว่า การวาง If-Clause อาจจะวางสลับกันได้ คือ

  • วาง IF-Clause ก่อนและตามด้วย Main Clause ซึ่งจะมีความหมายว่าที่เน้นมาก เช่น
    • If he would come here, please tell me.
    • If our train were to arrive punctually, we would have time to visit your sister.
    • If John had worked hard last term, he would have passed the examination.
    ซึ่งส่วนมากมักจะวาง IF-Clause ในลักษณะเช่นนี้
  • วาง Main Clause แล้วตามด้วย IF-Clause ความหมายของรูป IF-Clause เช่นนี้จะไม่เน้น แต่เป็นการกล่าวธรรมดา เช่น
    • Please tell me if he would come here.
    • We would have time to visit your sister if our train were to arrive punctually.
    • John would have passed the examination if he hard worked hard.
    • I will go if it would be necessary.
  • วางในระบบ Inversion Form รูปแบบนี้ใช้ในภาษาเขียนเท่านั้น ซึ่งจะเขียนในรูปแบบนี้ได้ก็ต่อเมื่อมีกิริยาช่วย (Helping Verb) อยู่ในส่วน IF-Clause แล้วย้ายกิริยาช่วยตัวนั้นไว้หน้าประธาน ตัด "if" ทิ้ง เช่น
    • Would he come here, please tell me.(มาจาก If he would come here, please tell me.)
    • Were our train to arrive punctually, we would have time to visit your sister.
    • I will go, would it be necessary.
    • Had John worked hard last term, he would have passed the examination

Past Perfect Tense

Subject + had + Verb3
หลักการใช้ Past Perfect Tense
1.ใช้กับเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ ที่ เกิดขึ้น และสิ้นสุดลงแล้วในอดีตทั้ง 2 เหตุการณ์ ซึ่งเหตุการณ์หนึ่งได้สิ้นสุดลงก่อนหน้าอีกเหตุการณ์ โดย…
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงก่อน จะใช้ Past Perfect Tense
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงทีหลัง จะใช้ Past Simple Tense
 We had gone out before he came.
(เราออกไปข้างนอกกันแล้วก่อนที่เขาจะมา)


2.Past Perfect Tense มักจะใช้กับคำว่า before, after, already, just, yet, until, till, as soon as, when, by the time, by… (เช่น by this month) และอื่นๆ โดยจะมีอาจวิธีการใช้ต่างกันไป เช่น
*Before + Past Simple Tense + Past Perfect Tense เช่น
-Before I went to the school, I had had a car accident.
(ก่อนที่ฉันจะไปโรงเรียน ฉันได้ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์)
*After + Past Perfect Tense + Past Simple Tense เช่น
-After I had finished my homework, I went to the Internet Café.
(หลังจากที่ฉันทำการบ้านเสร็จ ฉันก็ไปยังร้านอินเตอร์เน็ต)
*By the time + Past Simple Tense + Past Perfect Tense เช่น
-By the time he came here, I already had finished my dinner.
(ตอนที่เขามาถึง ฉันก็กินข้าวมื้อเย็นของฉันเสร็จเรียบร้อยแล้ว)

Have something (done)

กริยา have อาจใช้ในความหมายว่า จัดให้มีการกระทำต่อสอ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยกิริยาที่ตามหลังอยู่ในรูปต่อไปนี้
(1)   have + สิ่งที่ถูกกระทำ + กิริยาช่องที่ 3 (ซึ่งกระทำต่อสิ่งนั้น)
(have/get something done)
เช่น  a. He has his car taken to the garage.
มีข้อสังเกตคือ การใช้ประโยคเช่นนี้เราทราบว่าอะไรถูกกระทำ แต่ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้กระทำ        
b. He has his car washed every week. (เขาให้รถของเขาถูกล้างทุกสัปดาห์) (washed = V3)
        c. He has his hair cut every month. (เขาให้ผมของเขาถูกตัดทุกเดือน) (cut = V3)
        d. I had my shoes mended yesterday. (เขาให้รองเท้าของเขาถูกซ่อมเมื่อวานนี้) (mended = V3)

หมายเหตุ เราสามารถใช้ get แทน have ได้
      I have my hair cut. = I get my hair cut.
      I had my hair cut. = I got my hair cut.

 
(2) have + ผู้กระทำ + อาการกระทำ (กิริยาช่องที่1)
(have someone do something)
(get someone to do something)
              a. I have Dang wash my car every week. (ฉันให้แดงล้างรถของผมทุกสัปดาห์)
                     = I have my car washed every week. (ฉันให้เขาล้างรถให้ทุกสัปดาห์)

              
b. I had Suda take my photograph yesterday. (ฉันให้สุดาถ่ายรูปให้ผมเมื่อวานนี้)
                     = I had my photograph taken yesterday.

หมายเหตุ ในกรณีที่บอกว่าให้ใครกระทำนี้ เราใช้ get แทน have จะต้องมี to นำหน้ากิริยาช่องที่ 1 (ถ้าใช้ have ไม่ต้องมี to)

เช่น   I have Dang wash my car every week. = I get Dang to wash my car every week.
         I had Suda take my photograph yesterday. = I got Suda to take my photograph yesterday.